วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551

เรื่องของปลาทอง


เรื่องของปลาทอง "ปลาทอง" ปลาตู้ที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จักเป็นอย่างดีเพราะเป็นปลาที่ ผู้คนนิยมเลี้ยงกันมากทั้งเพื่อความสวยงามและเพลิดเพลินใจ ถ้าหากเรามีโอกาสนั่งชมและพิจารณาปลาทองที่ว่ายน้ำไปมาอยู่ในตู้ปลากันอย่างลึกซึ้งซักหน่อยอาจจะมีคำถามอีกมากมายหลายประเด็น ที่เกี่ยวกับปลาทองเกิดขึ้นในใจแล้ว ตัวเราเองก็ตอบไม่ได้ เช่น ถิ่นกำเนิดมาจากไหน จะหาดูปลาทองในสภาพ ธรรมชาติได้หรือไม่ มีอยู่ที่ไหนบ้าง ทำไมบางตัวตาพอง ทำไมบางตัวหางสั้น ทำไมบางตัวดูตัวโตและคงจะมี อีกหลายคำถาม เราจะต้องหันมาทบทวนคำกล่าวที่ว่า "ใคร ๆ ต่างก็รู้จักปลาทองเป็นอย่างดี" เสียใหม่ เราจะขอนำท่านเข้ามารู้จักกับปลาทองให้มากขึ้น ว่ากันให้ถึงขนาดบอกตัวเองหรือใครต่อใครได้ว่า "เรารู้จักปลาทองดี" เชิญเลยค่ะ !!!!!!!!!!!

การบรรจุและขนย้ายปลา

การบรรจุและขนย้ายปลา ในการขนย้ายปลากระทำได้โดยบรรจุปลาในถุงโปร่งแสงและนำมาบรรจุในกล่องโฟม กล่องโฟมจะเป็นฉนวนกันความร้อนทำให้อุณหภูมิไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ควรบรรจุปลาโดยใช้ถุงซ้อนเพื่อป้องกันการรั่วซึม และไม่ใส่ปลาแน่นเกินไป วิธีการนี้ยังเป็นการป้องกันการบอบช้ำของปลาในระหว่างการขนส่ง ในกรณีที่ต้องขนส่งปลาเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง ควรงดให้อาหารปลา 24 - 48 ชั่วโมง เพราะของเสียที่ปลาถ่ายออกมาจะทำให้น้ำมีปริมาณแอมโมเนียสูงและแอมโมเนียจะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อ pH ของน้ำเพิ่ม ดังนั้นการขนส่งปลาควรทำให้น้ำมีค่า pH ประมาณ 6.8 ปกติจะใส่ยาเหลืองหรือ เมทธีลีนบลู ซึ่งจะทำให้เชื้อโรคเจริญช้าลง และป้องกันการบอบช้ำของปลาอีกด้วย
อินเทอร์เน็ตกับปลาทอง อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโลกเพื่อให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่กระจายทั่วไปสามารถถ่ายโอน และสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ในลูกข่ายหากเราประสงค์จะสืบค้นข้อมูลด้านต่าง ๆเกี่ยวกับปลาทอง ก็มีฐานข้อมูลหลายแห่งที่เปิดให้บริการทั่วโลกโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งแต่ละแห่งก็จะมีเว็บไซต์ (Web site) ให้เปิดเข้าไปค้นได้ ปัจจุบันได้มีการเผยแพร่ข้อมูลปลาทองพร้อมรูปภาพสายพันธุ์ต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลาย เว็บไซต์ โดยมี เว็บไซต์ที่น่าสนใจดังนี้ - http://www.geocities.com/tokyo/4468 - http://www.ap-goldfish.com/ - http://goldfish.nova.org/ - http://www.petllbrary.com/goldfish/goldfish.html แต่ละเว็บไซด์มีข้อมูลเกี่ยวกับปลาทองมากมาย เช่น ข้อมูล ทางด้านสายพันธุ์ต่าง ๆ ของปลาทอง พร้อมรูปและข้อมูลด้านอาหารโรคปลา การเพาะพันธุ์ การขนย้ายปลา และข้อมูลสมาคมปลาทองในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

โรคปลาและวิธีการรักษา

โรคปลาและวิธีการรักษา
โรคหนอนสมอ (Anchor worms)อาการ : หนอนสมอจะมีขนาดความยาว 0.6-1 เซนติเมตร หนอนสมอจะใช้ส่วนหัวฝังเข้าไปในตัวปลาและยื่นส่วนหางออกมาทำให้เห็นเหมือนมีเส้นด้ายเกาะติดอยู่ที่ตัวปลา (ภาพที่ 46)ถ้าดึงออก ส่วนที่เป็นสมอมักจะขาดติดอยู่ใต้ผิวหนังทำให้เกิดแผล เป็นทางให้แบคทีเรียเข้าสู่ตัวปลาได้ ปลาที่พบหนอนสมอจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ว่ายถูตัวกับขอบตู้หรือบ่อ และมีรอยแดงช้ำเป็นจ้ำตามตัว เนื่องจากปลาระคายเคืองเป็นอย่างมาก จะเอาตัวถูข้างบ่อการรักษา : แช่ปลาในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ตลอดไป และแช่ซ้ำทุก 7 วัน รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้งหรือเวลารักษา 1 เดือน โรคเห็บ (Fish lice) Argulus sp.อาการ : เห็บมีลักษณะกลมแบบคล้ายรูปจาน ขนาดยาว 3 - 5 มิลลิเมตร มีขา 8 ขา แต่ละขายังแยกเป็นขาละ 2 คู่ (ภาพที่ 47) ปลาที่มีเห็บเกาะอยู่จะว่ายถูตัวกับข้างบ่อ เพื่อให้เห็บหลุดเกล็ดปลาจะหลุดเป็นแผล ซึ่งทำความเสียหายมากเนื่องจากปรสิตนี้สามารถขยายพันธุ์เร็วการรักษา : แช่ปลาที่มีเห็บในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ในอัตราส่วน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ตลอดไปและแช่ซ้ำทุก 7 วันต่อครั้ง รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้ง หรือเวลารักษา 1 เดือน โรคจุดขาวหรืออิ๊ค (White spot "Ich")อาการ : เกิดจากโปรโตซัวขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเป็นรูปไข่ Ichthyophthirius multifilis โดยจะฝังอยู่ที่ผิวและเหงือกของปลาปลาจะสร้างเซลล์ผิวหนังชั้นนอกเพิ่มขึ้นจนหุ้มปรสิตหมด ทำให้บริเวณนั้นกลายเป็นจุดขาว ๆ ระคายเคือง ผิวหนังมีอาการคันปรสิตจะขยายพันธุ์เจริญเต็มที่ หลุดออกจากตัวปลา ว่ายน้ำเป็นอิสระส่วนหนึ่งจะสร้างเกราะหุ้มตัวให้ตัวอ่อน เมื่อสภาพเหมาะสมเกราะก็จะแตกออก ตัวอ่อนว่ายเข้าติดตัวปลาต่อไป ถ้าเกาะไม่ได้ตัวอ่อนจะตายภายใน 4 วัน โรคจะลามภายใน 7-8 ชั่วโมงเท่านั้น มักเกิดช่วงหน้าฝน เมื่อปลากระทบน้ำฝนหรือหนาวเย็นจัด ปลาจะมีอาการเซื่องซึม ครีบเปื่อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหว และว่ายน้ำถูกับข้างบ่อการรักษา : ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ตลอดไป และแช่ซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน : มาลาไคท์กรีนร่วมกับฟอร์มาลิน อัตรา 4 ซีซี กับ 1 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โรคเชื้อรา (Fungus)อาการ : พบบริเวณผิวหนัง ครีบ บริเวณมีบาดแผล และในไข่ปลาที่ไม่ได้รับการผสมลักษณะเป็นเส้นใยอยู่เป็นกลุ่ม ปลาที่ได้รับเชื้อ Saprolegnia sp. จะมีปุยขาวคล้ายปุยสำลีเกาะติดตามลำตัวที่ได้รับความบอบช้ำหรือมีบาดแผลตามตัว ราจะเข้าเกาะทันทีราเจริญที่อุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส และมีวงจรชีวิต 1-2 วัน เท่านั้นการรักษา : แช่ปลาในน้ำที่ผสมเกลือ 3-5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นานตลอดไป หรือใช้มาลาไคท์กรีน0.1-0.2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือ 2 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่จนกว่าปลาจะหายป่วย ซึ่งอาจต้องแช่ซ้ำ2-3 ครั้ง โรคครีบและหางเปื่อยอาการ : ปลาจะมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยกินอาหารและมักจะว่ายน้ำสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ ครีบและหางจะขาดแหว่งคล้ายถูกกัด บริเวณปลายครีบและหางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และค่อย ๆ ลุกลามไปเรื่อย ๆ จนครีบและหางของปลาหดหายไป ซึ่งจะทำให้ปลาตายในที่สุด โรคนี้เกิดจากปลาได้รับเชื้อโปรโตซัว และมีการติดเชื้อแบคทีเรียรวมด้วยการรักษา : แช่ปลาป่วยด้วยฟอร์มาลิน 25 - 45 ซีซี/ น้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 2 วัน : ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโซน ในอัตราส่วน 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000ลิตรแช่ปลานาน 2-3 วัน โรคเหงือกอักเสบหรือเหงือกเน่า (Gill rot)อาการ : เหงือกปลาจะบวมแดง เกิดการเน่าและแหว่งหายไป (ภาพที่ 48) ปลาหายใจถี่ผิดปกติ และขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเสมอ ๆ หรือว่ายไปอยู่ที่ท่อออกซิเจนการรักษา : ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยขึ้น และให้ออกซิเจน หรือใช้ด่างทับทิม 3-4 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ตลอดไป โรคเวลเว็ทหรือโอโอดิเนียม (Velvet disease หรือ Oodinium disease) อาการ : เป็นโรคที่เกิดจากปรสิต (Oodinium sp.) มีสีน้ำตาลคล้ายสนิมเกาะตามลำตัว เหงือก (ภาพที่ 49) ถ้ามีเป็นจำนวนมากจะทำให้ปลาว่ายน้ำทุรนทุราย เนื่องจากหายใจไม่ออกการรักษา : แช่ปลาในน้ำเกลืออัตราส่วน เกลือ 1 กิโลกรัมในน้ำ 100 ลิตร แช่จนปลาเริ่มว่ายน้ำกระสับกระส่ายจึงจับปลาออก และอาจต้องทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะ 2-3 วัน โรคท้องบวม (Abdominal dropsy) อาการ : เป็นโรคที่ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย ปลาจะมีอาการเซื่องซึม ไม่เคลื่อนไหว อออยู่ใต้ผิวน้ำหรือจมก้นบ่อ ปลาไม่ค่อยกินอาหารในแบบเฉียบพลัน ส่วนท้องจะบวมมาก (ภาพที่ 50)มีน้ำสีแดงออกมาจากช่องท้อง และอาจเกิดเกล็ดตั้งขึ้น ส่วนแบบเรื้อรัง ผิวหนังของปลาจะเป็นรอยช้ำตกเลือดการรักษา : แช่ปลาในยาปฏิชีวนะออกซี่เตตร้าซัยคลิน หรือเตตร้าซัยคลิน ในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 2-3 วัน จึงถ่ายน้ำใหม่แล้วแช่ยาซ้ำอีก: ไม่ควรเลี้ยงปลาในปริมาณที่แน่นจนเกินไปและควรให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม การเกิดฟองอากาศ (Gas bubble disease)อาการ : ส่วนมากจะเกิดกับลูกปลาที่เลี้ยงในบ่อที่มีแสงแดดจัด และมีสาหร่ายในน้ำปริมาณสูง (สังเกตจากน้ำในบ่อจะมีสีเขียวมาก) ซึ่งสาหร่ายจะทำให้เกิดการสังเคราะห์แสง และเกิดก๊าซออกซิเจนมากเกินไป ส่วนในตอนเย็นออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้ปลาปรับตัวไม่ทัน เห็นเป็นฟองอากาศในตัวปลาโดยเฉพาะลูกปลาการรักษา : ควรจะหาที่บังแดด โดยใช้ตาข่ายบังแสงให้มีแสงผ่านได้ 40-60% โรคเสียการทรงตัว (Swim bladder disease)อาการ : ปลาจะว่ายน้ำหมุนควงตีลังกา เสียการทรงตัว ตกเลือดตามตัวและซอกเกล็ด จะเกิดกับปลาตั้งแต่วัยอ่อนถึงตัวเต็มวัย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของถุงลมระบบแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติ สาเหตุการเกิดโรคยังไม่แน่ชัดการรักษา : ไม่พบวิธีการรักษาที่ได้ผล ส่วนมากถ้าพบปลาป่วย จะนำปลาไปเลี้ยงในที่แคบ ๆ เพิ่มอุณหภูมิ และความเค็ม โรคเสียการทรงตัวบางครั้งไม่ได้ขึ้นกับกระเพาะลมอย่างเดียวอาจเกิดจากการทำงานของระบบย่อยอาหารผิดปกติ ทำให้เกิดก๊าซมาก

โรคปลาทอง

โรคปลาทอง การเลี้ยงปลาทองให้มีคุณภาพจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ที่ดี แต่ในบางครั้งเมื่อสภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ซึ่งพบว่าต้นฤดูฝนปลาที่เลี้ยงไว้ที่กลางแจ้งมักจะเกิดการล้มป่วยและตายโดยไม่รู้สาเหตุ ทั้งนี้เป็นเพราะก่อนฝนตกอากาศจะร้อนอบอ้าว แต่พอฝนตกลงมาอากาศก็เย็นลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับคุณสมบัติของน้ำก็เปลี่ยนไปอีกด้วยทำให้ปลาปรับสภาพไม่ทันจึงมักเกิดการล้มป่วย สาเหตุของโรค+ น้ำ ถ้าปล่อยให้น้ำเสียโดยไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำ อาหารตกค้างมาก ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมากกว่า 1นั้นหมายความว่า มีสารละลายปนอยู่ ทำให้ปลาหายใจลำบากอาจเกิดโรคได้ เนื่องจาก pH ของน้ำเปลี่ยนแปลง น้ำฝนที่ตกลงมาใหม่ก็เป็นสาเหตุทำให้ pH เปลี่ยนแปลง เช่นกัน+ อุณหภูมิและระดับออกซิเจนในน้ำ ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำที่ปลาอาศัยอยู่อย่างรวดเร็ว (เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิเกิน 5 องศาเซลเซียส ในเวลาสั้น) ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลให้ปลาอ่อนเพลียภูมิคุ้มกันของปลาลดลง+ ก๊าซต่าง ๆ เกิดจากการหมักหมมของอาหารและสิ่งที่ปลาขับถ่ายออกมา เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนียที่เป็นพิษต่อปลา+ พาหะนำเชื้อโรค ลูกน้ำ หนอนแดง ไรแดง อาจนำเชื้อโรคและปรสิตบางตัวมาสู่ปลา เช่น หนอนสมอโรคจุดขาว+ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ร่วมกับปลาที่เป็นโรค จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ ควรมีบ่อเฉพาะสำหรับรักษาโรคและแยกอุปกรณ์ไว้ต่างหาก วิธีการสังเกตปลาป่วย ในขณะที่ปลาป่วย ปลาจะมีลักษณะและอาการว่ายน้ำผิดปกติ ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้+ ลักษณะการเคลื่อนไหวของปลาที่เป็นโรคจะผิดปกติ มีอาการเซื่องซึม อาจว่ายน้ำเสียดสีหรือถูกับก้นบ่อว่ายมาออกันที่ผิวน้ำ โดยเฉพาะปลาที่มีปรสิตเกาะ+ ปลาที่เป็นโรค ขณะว่ายน้ำจะไม่กางครีบออกครีบอาจจะกร่อนแหว่งหายไป+ เหงือกบวมแดงเห็นชัดเจน เนื่องจากหายใจไม่สะดวก พยายามเปิดปิดเหงือกมากที่สุดเหงือกอาจบวมจนถึงกระดูกเหงือก+ มีเลือกออกตามเกล็ด หรือมีบาดแผลตามตัว+ ปลาที่เป็นโรคจะมีสีซีดกว่าปกติ+ ปลาขับเมือกออกมามากผิดปกติ น้ำมีสีขาวขุ่นภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลามีเมือกจับเต็มไปหมด+ เกล็ดพองลุกชัน ท้องโต ทั้ง ๆ ที่ปลาไม่มีไข่เรียกว่าท้องมาร+ ปลาผอมไม่ค่อยกินอาหาร โดยปกติปลาทองจะเป็นปลาที่กินอาหารเก่งและกินเกือบตลอดเวลาไม่ค่อยหยุดถ้าปลาไม่ยอมกินอาหารแสดงว่าปลาอาจป่วย แต่ถ้าช่วงอากาศหนาวหรืออากาศค่อนข้างเย็น ปลาจะไม่กินอาหารถือว่าเป็นเรื่องปกติ+ ปลาเสียการทรงตัวเกิดจากถุงลมผิดปกติ อาจว่ายน้ำหมุนควงหรือว่ายน้ำแบบบังคับทิศทางไม่ได้

การฟักไข่

การฟักไข่ ไข่ที่ติดกับสาหร่ายหรือเชือกฟางจะมีสีเหลืองใส ไข่ที่ได้รับการผสมจะฟักเป็นตัวภายใน 2-3 วันขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ส่วนไข่ปลาที่ไม่ได้รับการผสมน้ำเชื้อจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ไข่ที่เริ่มฟักเป็นตัวจะมีจุดดำ (Eye spot) ปรากฏขึ้น จากนั้นส่วนหางก็จะค่อย ๆ เจริญขึ้นมาจนสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวได้ ลูกปลาแรกฟักมีขนาดเล็กตัวใสเกาะติดกับรังไข่ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วประมาณ 2-3 วันลูกปลาจึงจะว่ายออกจากรังไข่และว่ายน้ำเป็นอิสระลูกปลาที่เกิดใหม่จะมีสีน้ำตาลคล้ำหรือสีดำ (ภาพที่ 42)หลังจากนั้นสีทองจะเริ่มพัฒนาขึ้น ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป การอนุบาลลูกปลาจะอนุบาลในบ่อเดิมหรือนำมาขยายบ่อเพื่ออนุบาลต่อไปก็ได้ ขณะที่ทำการดูดเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรใช้กระชอนตาถี่หรือผ้าบาง ๆมารองรับกันลูกปลาไหลไปตามน้ำ
การอนุบาลลูกปลา บ่อที่ใช้อนุบาลลูกปลาไม่ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่มาก เพราะจะทำให้การดูแลและการจัดการลำบากโดยทั่วไปการอนุบาลลูกปลาอาจใช้บ่อกลม ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้บ่อสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1 ตารางเมตรก็ได้ ในช่วงที่ลูกปลาฟักตัวออกมาระยะ 2-3 วันแรก ยังไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เนื่องจากลูกปลามีถุงอาหาร (Yolk sac) อยู่ซึ่งลูกปลาจะดูดซึมอาหารจากถุงอาหารนี้ หลังจาก 3 วันแล้วจึงเริ่มให้อาหารโดยให้ลูกไรแดงขนาดเล็กที่ผ่านการกรองด้วยตาข่ายหรือจะใช้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำแล้วหยดให้ปลากิน วันละ 3-4 ครั้ง ให้ประมาณ 2-3 วัน การให้ไข่แดงต้องระมัดระวังปริมาณการให้เพราะไข่จะทำให้น้ำเสียเร็วควรให้แต่น้อย ๆรอให้ปลากินหมดแล้วจึงให้เพิ่ม และถ้าปลากินเหลือควรดูดเศษอาหารออกโดยใช้สายยางขนาดเล็กดูดออกในกรณีที่ต้องใช้น้ำประปาที่มีต้นทุนสูงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่น้อย ๆและบ่อยครั้งขึ้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำทำให้ลูกปลาตายได้ และใช้กระชอนตาถี่ ๆมาวางไว้เพื่อรองรับน้ำที่ถูกดูดออกมาจากบ่อเลี้ยงปลาเพราะอาจจะมีลูกปลาถูกดูดติดออกมาได้ อัตราการเปลี่ยนถ่ายน้ำในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 20-25% ของปริมาณน้ำในบ่อ บางฟาร์มที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งมีต้นทุนต่ำอาจเปลี่ยนถ่ายน้ำตลอดเวลา โดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียน หลังจากที่ให้ไข่แดงหรือลูกไรแดงแล้ว 3 วัน ควรเปลี่ยนเป็นไรแดงขนาดใหญ่ขึ้น ลูกปลามีอายุ 15 วันจึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูป และอาหารสดที่มีขนาดใหญ่เสริม เช่น ลูกน้ำ ไส้เดือนน้ำ ควรให้วันละ 3-4 ครั้ง เมื่ออนุบาลลูกปลาจนกระทั่งมีอายุ 2 สัปดาห์ควรคัดปลาที่พิการออกไปเป็นปลาเหยื่อและเลือกปลาที่มีลักษณะที่ดีไว้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรงของลำตัว และครีบต่าง ๆ โดยเฉพาะครีบหางและควรมีการคัดขนาดด้วย เพราะลูกปลาที่มีขนาดเล็กจะแย่งอาหารไม่ทันลูกปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าจึงควรคัดออกเพื่อนำมาแยกเลี้ยง สำหรับการอนุบาลลูกปลาขนาดเล็กไม่ควรนำไปเลี้ยงในน้ำที่มีระดับความลึกมาก เพราะจะทำให้ปลามีรูปร่างไม่สวยงาม และไม่เลี้ยงหนาแน่นเกินไป ควรเลี้ยงในอัตราส่วน 100 - 250 ตัว/ตารางเมตรหลังจากที่อนุบาลลูกปลาประมาณ 1 เดือน ลูกปลาจะมีขนาด 2-3 เซนติเมตร อาจให้หนอนแดง ไส้เดือนน้ำหรือหนอนขี้หมูขาวด้วยก็ได้แต่ต้องนำมาต้มก่อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อของปลาหรือจะให้อาหารสำเร็จรูปเป็นอาหารปลาดุกเล็ก หรืออาหารผสมระหว่างอาหารปลาดุเล็กกับไข่ตุ๋นก็ได้

การเพาะพันธุ์ปลาทอง

การเพาะพันธุ์ปลาทอง ในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงเวลาที่ปลาทองจะผสมพันธุ์วางไข่ก่อนหรือหลังระยะดังกล่าวก็อาจเพาะพันธุ์ได้บ้างแต่เป็นส่วนน้อยปลาทองจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 4-6 เดือน แต่ช่วงที่เหมาะสมคืออายุ 7-8 เดือน และจะวางไข่ไปเรื่อย ๆ จนอายุ 6-7 ปี แต่เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อนปลาสามารถวางไข่ได้เป็นระยะเวลาหลายเดือนใน 1 ปี จึงทำให้อายุใช้งานของพ่อแม่พันธุ์น้อยลงคือประมาณ 2 ปีผู้เลี้ยงก็จะต้องหาพ่อแม่พันธุ์ใหม่ การเพาะพันธุ์ปลาทองอาจเพาะพันธุ์ได้ในตู้กระจก บ่อซีเมนต์กลมขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 80 เซนติเมตร หรือใช้บ่อสี่เหลี่ยมขนาด 1 ตารางเมตรขึ้นไป หลังจากทำความสะอาดบ่อหรือภาชนะเรียบร้อยแล้วให้เติมน้ำสะอาดที่ปราศจากคลอรีน (อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ในช่วง 25 - 28 องศาเซลเซียส)ให้ระดับน้ำสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร และควรใส่สาหร่ายหรือผักตบชวาโดยนำมาแช่ด่างทับทิมก่อนหรือใช้เชือกฟาง นำเชือกฟางมามัดแล้วฉีกเป็นเส้นฝอยใส่ลงในบ่อเพื่อให้ไข่เกาะ เพราะไข่ของปลาทองเป็นประเภทไข่ติด หรืออาจจะเพาะในกะละมัง ซึ่งวิธีนี้ไม่ต้องใส่เชือกฟางให้ไข่เกาะ เพราะไข่จะเกาะติดกับกะละมังที่ใช้เพาะฟัก การเพาะพันธุ์ปลาทองสามารถเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ หรือโดยวิธีผสมเทียม ดังนี้ การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ เป็นวิธีการเพาะพันธุ์ปลาทองแบบง่ายและประหยัด บ่อหรือภาชนะที่มีขนาดประมาณ 1 ตารางเมตร เป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุดและควรปล่อยพ่อแม่ปลาเพียง 4-6 ตัว/บ่อ โดยนำพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์พร้อมผสมพันธุ์ที่คัดไว้เรียบร้อยแล้วมาใส่ในบ่อเพาะ ในอัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมีย เท่ากับ 1 : 1 หรือ 2 : 1 ขึ้นกับปริมาณน้ำเชื้อของตัวผู้และความสมบูรณ์เพศของแม่พันธุ์ ปลาตัวผู้จะเริ่มไล่ปลาตัวเมียโดยใช้ปากดุนที่ท้องปลาตัวเมียเพื่อกระตุ้นให้วางไข่ ตัวเมียปล่อยไข่เป็นระยะ ๆขณะเดียวกันตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ ไข่ก็จะกระจายติดกับสาหร่าย ผักตบชวาหรือเชือกฟางที่อยู่ไว้ในบ่อ เนื่องจากไข่มีลักษณะเป็นเมือกเหนียวช่วยในการยึดเกาะได้ระยะเวลาในการผสมพันธุ์ อาจใช้เวลาถึง3ชั่วโมง ปลาจึงวางไข่หมด แม่ปลาวางไข่ครั้งละ 500-5000 ฟอง โดยปริมาณไข่จะขึ้นกับขนาดของแม่ปลา ปลาตัวเล็กปริมาณไข่ก็จะน้อย ภายหลังจากที่ปลาผสมพันธุ์กันแล้ว จะสังเกตเห็นน้ำในบ่อเพาะพันธุ์มีลักษณะเป็นฟองคล้ายมีเมือกผสมอยู่ในน้ำหรือสามารถตรวจสอบอย่างง่าย ๆก็คือ หลังจากที่ใส่รังเทียมในตอนเย็นจะสามารถตรวจสอบการวางไข่ในตอนเช้า หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้ว ควรแยกพ่อแม่ออกไปเลี้ยงในบ่ออื่น หรือจะเก็บรังเทียมไปฟักในบ่ออื่นก็ได้ แต่วิธีนี้ไข่อาจติดอยู่บริเวณขอบหรือพื้นก้นบ่อยากแก่การรวบรวม โดยปกติแม่ปลาทองจะวางไข่มากในช่วงเดือน เมษายน - ตุลาคม หลังจากปลาผสมพันธุ์แล้ว พ่อแม่ปลาจะไม่สนใจกับไข่ปลา และบางครั้งอาจกินไข่ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแยกพ่อแม่ปลาออกทันที การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียม การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียมจะทำให้อัตราการผสมไข่และน้ำเชื้อสูงมากมีอัตราการฟักไข่สูงกว่าการเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติแต่ขั้นตอนจะยุ่งยากกว่าหลังจากที่เตรียมอ่างเพาะหรือบ่อเพาะปลาแล้วให้ตรวจความพร้อมของแม่ปลา สำหรับแม่ปลาจะต้องมีท้องนิ่มพร้อมที่จะวางไข่การผสมพันธุ์โดยวิธีนี้ควรทำตอนเช้ามืดใกล้สว่าง ซึ่งเป็นเวลาที่ปลาชอบผสมพันธุ์กันเอง โดยใช้ปลาตัวผู้ : ปลาตัวเมียในอัตราส่วน 1 : 1 หรือ2 : 1 ตัว เพื่อให้น้ำเชื้อของปลาตัวผู้มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนไข่ของปลาตัวเมีย รีดไข่จากแม่ปลาลงในกะละมังที่มีน้ำสะอาด แล้วรีดน้ำเชื้อจากปลาตัวผู้ 1-2 ตัวลงผสมพร้อม ๆ กันขั้นตอนการรีดต้องทำอย่างรวดเร็วและนุ่มนวล เพราะปลาอาจเกิดบอบช้ำหรือถึงตายได้ถ้าปลาอยู่ในมือนาน จากนั้นคลุกเคล้าไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากัน เพื่อให้น้ำเชื้อของปลาตัวผู้ไปผสมกับไข่ของปลาตัวเมียได้อย่างทั่วถึง แล้วล้างไข่ด้วยน้ำสะอาด1-2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยให้อัตราการฟักเป็นตัวของไข่ปลามีมากกว่าการปล่อยให้ปลาผสมพันธุ์กันเองตามวิธีธรรมชาติ เมื่อไข่ถูกน้ำจะดูดซึมน้ำเข้าภายในเซลล์ (Cell) และมีสารเหนียว ๆ ทำให้ไข่ติดกับกะละมัง ถ้าแม่ปลา 1 ตัวที่มีปริมาณไข่มาก สามารถรีดไข่ได้ 2-3 กะละมัง (กะละมังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว) ไข่ที่ได้รับการผสมน้ำเชื้อจะมีลักษณะใสวาว ๆ สีเหลือง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสม มีสีขาวขุ่น นำกะลังมังที่มีไข่ปลาติดอยู่ ไปใส่ในบ่อฟักที่มีระดับน้ำลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยวางกะละมังให้จมน้ำ ให้ออกซิเจนเบา ๆ เป็นจุด ๆ ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำภายในอ่างฟักไข่อยู่ในช่วง 27 - 28 องศาเซลเซียส การควบคุมอุณหภูมิน้ำในช่วงที่ไข่ฟักตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากในช่วงที่ไข่ปลากำลังฟักตัวจะมีภูมิต้านทานน้อยมาก ถ้าหากอุณหภูมิของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงมากอาจทำให้ไข่ปลาเสียได้ ในช่วงฤดูหนาวที่อุณหภูมิลดลงมากอาจใช้ฮีทเตอร์ เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิน้ำ

การเตรียมปลาเพื่อการเพาะพันธุ์

การเตรียมปลาเพื่อการเพาะพันธุ์ การเพาะพันธุ์ปลาทองเพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีคุณภาพและปริมาณมากจำเป็นต้องมีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ซึ่งมีเทคนิคในการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลา ดังนี้ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การเลี้ยงปลาทองจะประสบผลสำเร็จต่อเมื่อคุณภาพของลูกปลามีลักษณะตรงตามที่ตลาดต้องการ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จึงนับเป็นปัจจัยสำคัญมากในการเพาะเลี้ยงปลาทองเพราะลูกปลาจะมีคุณภาพดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะที่พ่อแม่พันธุ์ถ่ายทอดมายังลูกหลานซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ดังนี้+ ไม่ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ครอกเดียวกันมาทำการผสมพันธุ์ เพราะอาจได้ลุกปลาที่มีลักษณะด้อย โตช้าอ่อนแอหรือมีความผิดปกติ เนื่องจากการผสมปลาในครอกเดียวกัน เป็นการผสมเลือดชิด (Inbreeding) + ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ยังมีอายุไม่มากนัก (อายุไม่เกิน 2 ปี) เพราะปลารุ่นมีความปราดเปรียว วางไข่ได้ครั้งละมาก ๆ น้ำเชื้อมีความแข็งแรงสมบูรณ์ พ่อแม่พันธุ์ต้องอยู่ในสภาพพร้อมผสมพันธุ์ได้จริง+ เลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี ไม่พิการ มีสีสันเข้ม เด่นชัด มีความแข็งแรงปราดเปรียว และมีขนาดใหญ่ปานกลางเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเติบโตเร็ว การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลา หลังจากที่มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์แล้ว การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ก็นับเป็นสิ่งสำคัญในการเพาะพันธุ์ปลา หากพ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่แล้ว จะสามารถเพาะพันธุ์ได้โดยง่าย ปลาจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้เอง ตามธรรมชาติ ปลาทองที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรมีอายุประมาณ 5-6 เดือนขึ้นไป ถ้าอายุน้อยจะทำให้ลูกปลาที่ได้พิการเป็นส่วนมาก การเลี้ยงปลาทองเพื่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ บ่อดิน ตู้กระจก อ่างปลา ฯลฯ ที่มีระดับความลึกพอประมาณ (20-40 เซนติเมตร) ถ้าพ่อแม่พันธุ์ปลามีขนาด 3-4 นิ้ว ปล่อยตารางเมตรละ 4-6 ตัวยกเว้นพ่อแม่ปลาทองบางพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ จำเป็นต้องเลี้ยงในบ่อที่ใหญ่ขึ้นด้วย กรณีที่มีการเลี้ยงในบ่อที่มีการแยกของเสียและตะกอนออกไปตลอดเวลา ความหนาแน่นอาจเพิ่มเป็น 10 - 20ตัว (ขนาด 3-4 นิ้ว) / 1 ตารางเมตร ทำเลที่เหมาะสมในการสร้างบ่อพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง คือ บริเวณที่แสงแดดส่องได้บ้างในเวลาเช้าหรือเย็น หากเป็นที่โล่งแจ้งต้องทำหลังคาหรือร่มเงาให้ส่องแสงลงได้เพียง 40-60% บ่อที่ได้รับแสงแดดที่พอเหมาะจะสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำและแพลงก์ตอนพืช(Phytoplankton) ให้อยู่ในปริมาณที่พอดีทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดอยู่เสมอ เหมาะกับความเป็นอยู่ของปลาและจะช่วยให้ปลามีสีสันสวยขึ้นด้วย ในทางตรงข้ามหากแสงสว่างส่องมากเกินไป จะทำให้ตะไคร่น้ำและแพลงก์ตอนพืช เจริญเร็วมากเกินต้องการ น้ำจะเขียวจัดและเป็นเหตุให้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเปลี่ยนแปลงเร็วมากในรอบวัน ซึ่งเป็นอุปสรรค ต่อความสมบูรณ์ทางเพศของปลา นอกจากนี้แสงแดดจะทำให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปด้วย หากเลี้ยงปลาทองไว้ในบ้านแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้า ที่ส่องลงในตู้โดยตรง สามารถใช้ทดแทนแสงแดดได้เช่นกัน แต่ความสมบูรณ์ทางเพศของปลาจะไม่ดีเท่ากับเลี้ยงไว้นอกบ้าน เนื่องจากปลาเลี้ยงในตู้จะตื่นตกใจง่ายทำให้การพัฒนาของไข่ชะงักไป บ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่ปลาทองจำเป็นต้องมีวัสดุคลุมเพื่อป้องกันศัตรูปลา เช่น แมว งู นก เป็นต้น ทั้งนี้เพราะปลาทองเป็นปลาที่ว่ายน้ำเชื่องช้า และชอบกินอาหารบริเวณผิวน้ำ เป็นการเปิดโอกาสให้ศัตรูทำร้ายได้ง่าย (วัสดุคลุมปิดควรมีความโปร่งแสงเพื่อให้แสงแดดส่องถึงและอากาศถ่ายเทได้ ปกตินิยมทำด้วยตาข่ายพลาสติกกรองแสง) น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทอง ควรเป็นน้ำที่สะอาด มีความเป็นกรด - ด่าง (pH) 6.8-7.5 มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัม/ลิตร จึงจำเป็นต้องมีระบบเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ตลอดเวลา ความกระด้าง (Hardness) 75-100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง (Alkalinity)150 - 200 มิลลิกรัม/ลิตร ระดับความลึกของน้ำที่เหมาะสมคือ 30-40 เซนติเมตร การเลี้ยงปลาทองในบ่อที่มีระดับน้ำสูงเกินไปมักจะทำให้ปลาทองเสียการทรงตัวได้ง่าย โดยเฉพาะสายพันธุ์หัวสิงห์ ต้องมีการถ่ายเทน้ำบ่อยหรือทุก ๆ วัน โดยดูดน้ำเก่าทิ้งไป 25% ของน้ำทั้งหมดแล้ว เติมน้ำใหม่ลงไปให้มีปริมาณเท่าเดิม ควรแยกเลี้ยงปลาที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ไว้คนละบ่อ เพื่อให้ปลามีความสมบูรณ์แข็งแรงจริง ๆ ในช่วงที่ปลากำลังฟิตตัวเพื่อเตรียมผสมพันธุ์ไม่ควรให้อาหารมากเกินไปจะทำให้ปลาอ้วน และไม่ควรเลี้ยงพ่อแม่ปลาทองจำนวนมาก ๆ ในบ่อเดียวกัน เนื่องจากปลาทองเกือบทุกพันธุ์เป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนแอ มีลักษณะลำตัว หัวและครีบบอบบางอาจฉีกขาดหรือเป็นแผลและเสียการทรงตัวได้ง่าย อีกทั้งปลาทองเป็นปลาที่กินอาหารมากและรวดเร็ว หากเลี้ยงปลารวมกันเป็นจำนวนมากตัวที่กินอาหารช้ากว่าจะแย่งอาหารไม่ทัน ทำให้มีการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ทางเพศช้า ไม่สามารถเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ตามกำหนด และไม่ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทองหลายสายพันธุ์ในบ่อเดียวกัน นอกจากอุปนิสัยที่แตกต่างกันจะทำให้เป็นอุปสรรคของความสมบูรณ์เพศแล้ว อาจเกิดการผสมข้ามพันธุ์โดยบังเอิญทำให้ได้ลูกปลาที่มีลักษณะที่ตลาดไม่ต้องการ ตามปกติพ่อแม่พันธุ์ปลาทองสามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้เกือบตลอดปี ยกเว้นในช่วงอุณหภูมิลดต่ำกว่าปกติอย่างมาก ซึ่งในระยะนี้ปลาจะกินอาหารน้อยลงทำให้ความสมบูรณ์ทางเพศลดลงและชะงักการผสมพันธุ์ หากสามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำได้โดยการใช้เครื่องเพิ่มอุณหภูมิในน้ำ (Heater) โดยให้น้ำมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสตลอดเวลา พ่อแม่พันธุ์ปลาทองก็จะสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี สำหรับแม่ปลาตัวหนึ่ง ๆ นั้นจะสามารถวางไข่ได้ทุกระยะประมาณ 2-4 สัปดาห์/ครั้ง การคัดเพศปลาทอง การสังเกตเพศปลานับเป็นสิ่งสำคัญในการเพาะพันธุ์ปลาทอง โดยปกติความแตกต่างระหว่างเพศของปลาทองจะเริ่มปรากฏให้เห็น เมื่อปลามีอายุประมาณ 2-4 เดือนขึ้นไปโดยจะสามารถสังเกตเห็นได้จากลักษณะภายนอก ซึ่งปลาทองตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ดังตารางและ ภาพที่ 38-40
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ
ลักษณะที่ใช้เปรียบเทียบ
เพศเมีย
เพศผู้
1. รูปร่าง (Body shape)
- ลำตัวค่อนข้างอ้วนและป้อมกว่าตัวผู้
- ลำตัวค่อนข้างยาวกว่าเพศเมีย
2. ผนังส่วนท้อง (Abdominal wall)
- กลม และมีความอ่อนนุ่ม
- แบนและแข็ง
3. รูทวาร (Anal pore)
- รูทวารมีลักษณะค่อนข้างกลม
- เป็นรูปวงรีชั้นเดียว เมื่อใช้มือรีดที่ท้องเบา ๆ น้ำเชื้อสีขาวขุ่นจะไหลออกมา
4. ครีบอก (Anal pore)
- เรียบ
- จะมีตุ่มสีขาวขุ่น ๆ ปรากฏให้เห็นโดยเฉพาะที่เส้นก้านครีบแข็ง
5. กระพุ้งแก้ม (Operculum)
- ลื่นและเรียบ
- บริเวณกระพุ้งแก้มจะมีตุ่มสีขาวขุ่นบนกระพุ้งแก้ม

อาหารปลาทอง

อาหารปลาทอง อาหารธรรมชาติ ถึงแม้ปลาทองจะเป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร (Omnivorous)แต่ในธรรมชาติชอบกินอาหารพวกลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemia) หนอนแดง และไส้เดือนน้ำ อาหารมีชีวิตเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารสูงทำให้ปลาโตเร็วมีความสมบูรณ์ทางเพศดีเหมาะสมต่อการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง โดยให้วันละ 2-3 ครั้ง อาหารธรรมชาติจะให้ในสภาพที่มีชีวิตหรือตายแล้วก็ได้ หากเป็นอาหารที่ตายแล้วต้องให้ปริมาณที่พอเหมาะ ถ้ามีอาหารเหลือต้องรีบดูดทิ้งทันที เนื่องจากอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียและเกิดโรคได้ ปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมและราชบุรีได้เพาะเลี้ยงปลาทองโดยใช้หนอนแมลงวันหรือหนอนขี้หมูขาว ซึ่งเกิดในบริเวณเล้าหมู เรียกว่า หนอนขี้หม ู นำมาเลี้ยงปลาใช้เป็นอาหารปลาทองขนาดอายุ 1-2 เดือนขึ้นไป แต่ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาควรระวังอย่าให้กินหนอนขี้หมูมาก เพราะจะทำให้ปลาอ้วนเกินไปซึ่งมีผลทำให้ปริมาณไข่ที่ออกน้อย ข้อควรระวัง ก่อนนำหนอนขี้หมูมาเป็นอาหารจะต้องนำมาล้างน้ำให้สะอาดและแช่ด่างทับทิมในอัตราส่วน 2-3 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร หรือต้มเพื่อป้องกันเชื้อโรค ผลดีของอาหารมีชีวิต+ สัตว์น้ำจะมีเอนไซม์ช่วยย่อย ซึ่งสัตว์น้ำสามารถย่อยและกินได้ตลอดเวลา+ อาหารมีชีวิตมีองค์ประกอบของกรดอะมิโนอิสระที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเจริญเติบโต+ มีสารสีต่าง ๆ (Pigment) ตามธรรมชาติ ช่วยในการป้องกันและสร้างภูมิต้านทานโรคซึ่งปลาไม่สามารถสังเคราะห์เองตามธรรมชาติ+ มีราคาต่ำเมื่อเทียบกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป
อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารเม็ดขนาดเล็กเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาทอง และควรเลือกอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงจะทำให้ปลาเจริญเติบโตดีและมีสีสันสวยงามโดยทั่วไปส่วนประกอบของอาหารสำเร็จรูปควรประกอบด้วย โปรตีน 40% คาร์โบไฮเดรต 44% ไขมัน10% วิตามินและแร่ธาตุ 6% ส่วนประกอบของอาหารที่มีปริมาณโปรตีนต่ำจะทำให้ปลาโตช้าหรือชะงักการเจริญเติบโตและมีความสมบูรณ์ทางเพศน้อยหรือถ้าอาหารมีปริมาณโปรตีนมากเกินไป ปลาก็จะขับถ่ายของเสียออกมามากทำให้น้ำมีปริมาณแอมโมเนียสูงซึ่งเป็นพิษต่อปลา : ลูกปลาขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 1 นิ้ว) มีความต้องการโปรตีน ประมาณ 60 - 80% เพื่อการเจริญเติบโต : ปลาวัยรุ่นจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 40 - 60% เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ทางเพศทำให้ ไข่พัฒนา : ปลาเต็มวัยจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 30 - 40% การให้อาหาร ควรให้วันละ 3 -5 % ของน้ำหนักปลา เช่น ปลาทั้งหมด น้ำหนัก 500 กรัม จะให้อาหารเม็ดวันละ 15 - 25 กรัม โดยแบ่งให้เช้าเย็นหรือจะใช้อาหารผสมแทน โดยใช้อาหารที่มีส่วนผสมของปลาป่น รำละเอียด กากถั่วป่น วิตามินและแร่ธาตุซึ่งกำหนดให้มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า40%อาหารสำเร็จรูปมีข้อดีกว่าอาหารธรรมชาติหลายประการได้แก่ สามารถควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอและความคงทนในขณะที่ละลายน้ำ แต่อาหารสำเร็จรูปจะทำให้น้ำเสียง่าย ขนาดของอาหารสำเร็จรูปสามารถปรับให้เข้ากับการเจริญเติบโตของลูกปลา เมื่อปลามีขนาดใหญ่สามารถ ปรับขนาดได้ ขนาด วัสดุอาหารและกลิ่นของอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการทำอาหาร
วิธีการให้อาหารสำเร็จรูปมีข้อควรพิจารณาในการให้อาหาร ดังนี้+ ปริมาณอาหารที่ให้ ไม่มากเกินไป ปลาควรกินหมดภายใน 15 นาที+ ความถี่ หลักการให้อาหารควรจะให้ปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งทั้งนี้ควรให้วันละ 2 -3 ครั้งถ้าเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปควรมีการเสริมอาหารมีชีวิต+ การยอมรับอาหาร บางครั้งพบว่า ปลาไม่ยอมรับอาหารที่ไม่เคยกินมาก่อน จึงจำเป็นต้องฝึกให้กินโดยอาจต้องให้ปลาอดอาหาร 1 - 2 วัน และลองให้กินอาหารใหม่อีกครั้ง แล้วสังเกตว่าปลายอมกินอาหารหรือไม่+ การเลือกชนิดและปริมาณของอาหาร ควรต้องคำนึงถึงระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง+ อาหารเร่งสี สีของตัวปลาเกิดจากการทำงานของเซลล์ผิวหนังซึ่งมีเม็ดสีอยู่ภายใน เม็ดสีที่อยู่ใน ชั้นของผิวหนังสีแดงหรือสีเหลืองของปลาทองเป็นสีของคาร์โรทินอยล์ชนิดแอสทาแซนธิน (Astaxanthin) คือถ้าในเซลล์ผิวหนังมีคาร์โรทินอยล์มากเท่าไร ย่อมทำให้ปลามีสีสดขึ้น ดังนั้นในปัจจุบันจะมีการใช้สารเร่งสี (แอสทาแซนธิน) ให้ปลากินเพื่อให้ปลามีลำตัวสีแดง และมีการใช้สไปรูไรน่า (Spirulina) ผสมกับอาหารเลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มความเข้มของสีแดง ส้ม หรือสีเหลือง ในตัวปลา ปกติอาหารสำเร็จรูปส่วนมากจะมีสไปรูไรน่าผสมอยู่ในอัตราส่วนไม่เกิน 10% อาหารที่ผสมสารเร่งสีจะใช้เลี้ยงปลาที่มีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ โดยให้กินในมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นจะให้กินอาหารมีชีวิต ในกรณีที่เลี้ยงปลาทองในบริเวณที่มีแสงแดดเพียงพอไม่จำเป็นต้องให้อาหารเร่งสี

บ่อหรือภาชนะที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงปลาทอง (ภาพที่ 33 - 37)

บ่อหรือภาชนะที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงปลาทอง (ภาพที่ 33 - 37)
ตู้ปลา ในกรณีที่มีตู้ปลาเก่า อาจใช้สำหรับอนุบาลลูกปลา เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หรือเพาะพันธุ์ได้ แต่ถ้าเป็นการลงทุนใหม่ไม่ควรซื้อตู้ปลาเพราะต้นทุนสูง อ่างซีเมนต์ เป็นอ่างซีเมนต์ขนาดเล็ก อาจซื้อสำเร็จรูปหรือทำขึ้นเอง เป็นอ่างสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ60 x 80 เซนติเมตร และมีความลึกประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร หรือเป็นบ่อซีเมนต์กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 80 -120 เซนติเมตร และมีระดับความลึกประมาณ 25 - 30เซนติเมตร เหมาะสำหรับอนุบาลลูกปลาหรือนำมาใช้เลี้ยงปลา ที่คัดขนาดแล้วหรือจะใช้เพาะพันธุ์ก็ได้ บ่อซีเมนต์ โดยปกติจะนิยมสร้างให้มีขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ 2 x 2 หรือ 2 x 3 เมตรบ่อชนิดนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เพาะพันธ ุ์ และเลี้ยงลูกปลาได้ทุกขนาดบ่อซีเมนต์ทุกประเภทก่อนที่จะนำมาใช้ต้องมีการสร้างทำความสะอาดแช่น้ำไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วถ่ายน้ำทิ้งเพื่อล้างและกำจัดปูนซีเมนต์ออกให้หมด การสร้างบ่อปลาต้องคำนึงถึงระบบการกำจัดของเสียเป็นสำคัญ โดยการสร้างให้มีความลาดเอียง เพื่อให้ของเสียและตะกอนไหลมารวมกันในพื้นที่ที่เป็นที่ต่ำ และสร้างท่อระบายน้ำออกตรงบริเวณนั้น โดยมีตะแกรงครอบบริเวณฝาท่ออีกที เมื่อถ่ายน้ำก็ดึงฝาครอบท่อออก ของเสียและตะกอนต่าง ๆ จะไหลปนไปกับน้ำ ซึ่งมีตะแกรงทำหน้าที่ป้องกันลูกปลาไหลออกมาเวลาระบายน้ำถ้าเป็นบ่อขนาดเล็กนิยมที่สร้างท่อระบายน้ำออกไว้ตรงกลาง แต่ถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่จะสร้างไว้บริเวณด้านข้างเพื่อความสะดวกในการเปิดปิดท่อระบายออกเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำ วิธีการสร้างบ่อลักษณะนี้ จะทำให้ประหยัดแรงงานและปริมาณน้ำมากกว่าการสร้างบ่อที่ไม่มีความลาดเอียงและไม่มีท่อระบายน้ำออก นอกจากบ่อและภาชนะรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วอาจสร้างบ่อหรืออ่างในรูปแบบอื่น ๆ ก็ได้ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน เช่น ทำจากผ้าใบโดยมีโครงไม้โครงเหล็ก หรือปูแผ่นพลาสติกบนบ่อที่ยกขอบด้วยอิฐบล๊อก เป็นต้น

แหล่งน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลาทอง

แหล่งน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลาทอง น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากในการเลี้ยงปลา เพราะมีผลต่อปลาโดยตรง เช่น คุณภาพน้ำที่เหมาะสมจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว ปลาไม่เกิดความเครียด สุขภาพดี แข็งแรงมีความต้านทานต่อโรคได้ดี น้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงที่ได้จากแหล่งต่าง ๆย่อมมีคุณสมบัติต่างกัน ดังนั้นการเลือกสถานที่ในการทำฟาร์ม ก็ควรคำนึงถึงแหล่งน้ำและคุณสมบัติน้ำเป็นปัจจัยต้น ๆน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทอง สามารถนำมาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้ น้ำที่ได้จากลำคลอง หนอง บึง จะมีตะกอนดินและแร่ธาตุจากดิน และหินละลายในน้ำ รวมทั้งจุลินทรีย์และปรสิตปะปนมาควรนำน้ำจากแหล่งนี้ไปปรับปรุงคุณภาพก่อนนำไปเลี้ยงปลาโดยใส่น้ำในบ่อพักเติมปูนขาว เพื่อช่วยในการตกตะกอนให้เร็วขึ้น ฆ่าเชื้อโรคและปรับความเป็นกรด- ด่าง (pH) พักน้ำไว้ประมาณ 1 - 2 วัน ก็จะสามารถสูบน้ำไปใช้ได้ตาราง แสดงความต้องการปูนขาวใส่ลงบ่อดินเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด/ด่างให้อยู่ระดับที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ความเป็นกรด / ด่างของดิน
ความต้องการปูนขาวของดิน (กก./ไร่)
ดินเหนียว
ดินเหนียวปนทราย
ดินทราย
น้อยกว่า 4.0
640
300
200
4.0-4.5
480
200
200
4.5-5.0
400
200
200
5.0-5.5
240
160
160
5.5-6.0
160
80
40
6.0-6.5
80
-
-
น้ำบาดาล เป็นน้ำที่สูบจากใต้ดิน มีแร่ธาตุละลายปนมา เช่น สนิมเหล็ก น้ำจะมีกลิ่นแร่ธาตุ กลิ่นโคลนและมีปริมาณออกซิเจนต่ำซึ่งแก้ไขโดยนำน้ำมาพักทิ้งไว้เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ น้ำบาดาลที่ได้จากแหล่งน้ำใต้ดินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงปลา จัดเป็นแหล่งน้ำที่ดีเพราะมีเชื้อโรคปนเปื้อนต่ำและสามารถใช้ได้ตลอดฤดูกาล น้ำประปา น้ำประปาเป็นน้ำที่สะอาดและมีคุณสมบัติเหมาะสมนำมาใช้เลี้ยงสัตว์น้ำได้ดี เนื่องจากน้ำประปาผ่านการบำบัดและการกรองหลายขั้นตอน ปราศจากเชื้อโรค แต่มีราคาแพงและมีปัญหาเรื่องปริมาณคลอรีนที่หลงเหลืออยู่ในน้ำ ซึ่งวิธีการกำจัดคลอรีนสามารถดำเนินการได้ดังนี้ - พักน้ำไว้ 2-3 วันหรือพักไว้ในที่แจ้งตากแดดตลอดเวลา 24 ชั่วโมงคลอรีนจะแตกตัวระเหยไปกับอากาศ - ใช้กรองด้วยถ่านคาร์บอน (Ativated carbon) - ถ้าต้องการใช้น้ำเลี้ยงปลาทันที สามารถเติมโซเดียม ไธโอซัลเฟต อัตรา 1 เกล็ดต่อน้ำ 5 ลิตร

การเพาะเลี้ยงปลาทอง

การเพาะเลี้ยงปลาทอง การเพาะเลี้ยงปลาทองให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องมีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาให้มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ จัดเตรียมบ่อและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง มีขั้นตอนในการผสมพันธุ์ การฟักไข่และอนุบาลลูกปลา ฯลฯ ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การคัดเลือกสถานที่เพื่อเลี้ยงปลาทอง การเลี้ยงปลาทองจะต้องหาทำเลที่เหมาะสม โดยยึดหลักเกณฑ์ดังนี้+ ไม่เป็นที่อับแสงแดด หรือมีแสงแดดมากเกินไป เพราะถ้าเป็นที่อับอากาศ หรืออับแสงจะทำให้ปลาสีซีดไม่แข็งแรง และหากแสงมากเกินไป จะมีผลในการดูแลความสะอาดเพราะน้ำเขียวเร็ว เนื่องจากแสงแดดทำให้ตะไคร่น้ำเติบโตเร็ว หากบ่ออยู่ในที่โล่งแจ้งควรใช้ตาข่ายกรองแสงประมาณ 60%+ ไม่ควรอยู่ใกล้แหล่งสารเคมีที่มีพิษ โดยเฉพาะถ้าใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่ไหลผ่านโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปนเปื้อนสารพิษคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงจะมีการเปลี่ยนแปลงมากในรอบปี สำหรับหน้าแล้งอาจเกิดสภาวะขาดน้ำ หรือน้ำเสียจากโรงงานเป็นอันตรายต่อชีวิตสัตว์น้ำได้+ ไม่เป็นที่มีเสียงอึกทึกครึกโครมหรือเสียงรบกวน ทำให้ปลาตกใจเป็นประจำ จะส่งผลถึงการกินอาหารของปลา และการเคลื่อนไหวร่างกายอาจผิดปกติได้+ บ่อไม่ควรอยู่ตรงชายคาที่มีน้ำตกพอดี เพราะน้ำฝนที่มี่คุณสมบัติเป็นกรดจะทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงปลามีคุณสมบัติเปลี่ยนไป มีผลให้ปลาอ่อนแอติดโรคได้ง่าย+ ไม่เป็นที่ที่มีศัตรูของปลาหรือมีใบไม้ร่วง เป็นสาเหตุให้น้ำเน่าหากมีศัตรูปลา เช่น นกหรือแมว ควรจะหาวัสดุป้องกัน เช่น ตาข่ายกั้นรอบบริเวณที่เพาะเลี้ยง+ ควรเป็นสถานที่ที่มีที่กำบังลมและแสงแดด เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระทันหัน โดยเฉพาะในฤดูหนาว+ ควรสร้างบ่อให้มีความลาดเอียง เพื่อให้สะดวกต่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำโดยสามารถระบายน้ำได้หมดทั้งยังสะดวกในการทำความสะอาด ตากบ่อ และการกำจัดเชื้อโรค+ สร้างระบบน้ำ โดยมีท่อน้ำเข้า ท่อระบายน้ำออก ระบบเพิ่มอากาศที่มีประสิทธิภาพและมีอุปกรณ์สำรองเพื่อป้องกันภาวะฉุกเฉินกรณีไฟฟ้าดับ+ ควรกำจัดพาหะที่อาจนำโรคมาสู่ปลา พาหะที่สามารถมองเห็นได้จากบริเวณสถานที่เลี้ยง เช่น คางคกหรือลูกหอยตัวเล็ก ๆ